เพนียดคล้องช้าง
เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้เป็น โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๕๓ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๔ บริเวณของกลุ่มเพนียดคล้องช้าง จะมีกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญคือเพนียดคล้องช้าง ตำหนักเพนียด และเตาเผาบ้านเพนียด ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการคล้องช้างป่า นำมาใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและในสงคราม แต่บางครั้งพระเจ้าแผ่นดินก็โปรดฯ ให้ทำพิธีคล้องช้างป่าให้แขกเมืองชมด้วย แต่เดิมเพนียดตั้งอยู๋ที่วัดซองด้านทิศเหนือของพระราชวังจันทรเกษม ครั้งถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ.๒๑๒๓ โปรดฯให้ขยายกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกไปถึงริมแม่น้ำ จึงโปรดฯให้ย้ายเพนียดไปตั้งที่ตำบลทะเลหญ้า หรือตำบลสวนพริกในปัจจุบัน
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว เพนียดคงถูกทิ้งร้างไป จนกระทั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์จึงโปรดฯให้บูรณะเรื่อยมา เช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
ลักษณะเพนียดคล้องช้างเป็นคอกล้อมด้วยซุงทั้งต้น เรียกว่าเสาตะลุง และมีปีกกาเป็นรั้วแยกออกไปทั้งสองข้างๆ ละหลายเส้น ซุงที่ปักเป็นแนวปีกกา ได้รับการบูรณะแล้วที่เพนียดจะมีประตูทางเข้า-ออกของช้างป่าและช้างต่อ เรียกว่า "ซอง" ด้านบนจะมีเสาใหญ่แขวนอยู่เรียกว่า "โตงเตง" ไว้สำหรับเปิด-ปิดซองเมืองต้อนช้างเข้าและออกจากเพนียด
คอกเพนียดแห่งนี้มีขนาดประมาณ ๗๕x๑๐๐ เมตร แต่เดิมรอบคอกเพนียดจะก่อเป็นกำแพงดินประกอบอิฐสูงเสมอยอดเสาระเนียด กว้างประมาณ ๗๕x๑๐๐ เมตร แต่เดิมรอบคอกเพนียดจะก่อเป็นกำแพงดินประกอบอิฐสูงเสมอยอดเสาระเนียด กว้างประมาณ ๘ ฟุต สำหรับคนขึ้นไปดูเวลาคล้องช้าง
สิ่งก่อสร้าง
- พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร
- ศาลปะกำ สถานที่สำหรับทำพิธี ก่อนจับช้างเข้าเพนียด
- มณฑปพระเทวกรรม ตั้งอยู่ตรงกลางเพนียด ประดิษฐานพระพิฆเนศซึ่งเป็นเทพแห่งช้าง
- เสาชุง ปักเว้นระยะเพื่อทำเป็นคอก
- ช่องกุด ประตูเล็กๆ สำหรับเจ้าหน้าที่เข้าออก
- เชิ่งเทินก่ออิฐ เป็นกำแพงล้อมรอบเพนียด
- เสาโตงเตง เป็นซุงที่ห้องจากด้านบน ปลายลอย มีเชือกดึงออกไปด้านข้าง เพื่อเปิดให้ช้างเข้า ทำหน้าที่เนประตู
วิดีทัศน์