วัดขุนแสน
วัดขุนแสน ตั้งอยู่ริมถนนอู่ทองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมือง ในเขตดำบลหัวรออำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันมีสภาพเป็นวัดร้าง
วัดขุนแสนสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานสันนิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าในรัชกาลนี้
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับมาจากเมืองแครงนั้น ได้มีชาวมอญนำโดยพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรดิและพระยารามดิดดามมาด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเถรคันฉ่องจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ส่วนพระยาเกียรดิ พระยารามให้อยู่ตำบลบ้านขมิ้นวัดขุนแสน ซึ่งวัดขุนแสนดังกล่าวก็คือวัดขุนแสนในดำบลหัวรอปัจจุบัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบทราบว่า พระยาเกียรติและพระยารามนั้นมีความสำคัญในฐานะพระบุพการีของพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่งานบูรณะวัดขุนแสนในปลายรัชกาลของพระองค์เนื่องจากเป็นวัดที่ดั้งอยู่ใกล้เคียงกับนิวาสสถานของพระยาเกียรติและพระยาราม โดยก่ออิฐเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ครอบเจดีย์ประธานเดิม สร้างอุโบสถ ศาลาโถง พร้อมทั้งขุดคูรอบวัดผ่าสันกำแพงเมืองไปออกคลองเมือง ๒ สาย แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลและทำถนนรอบเมือง จึงถมคูนั้นเสีย ต่อมาได้มีราษฎรเข้าไปปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ของวัดขุนแสนทับรากฐานโบราณสถาน ทำให้เห็นสภาพเดิม ไม่ชัดเจน มีเพียงเจดีย์ ๒ องค์ที่เห็นเด่นชัด
พ.ศ.๒๔๘๔ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดขุนแสนเปนโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔
พ.ศ.๒๕๓๗ กรมศิลปากร โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๓ ขณะนั้นได้ทำการสำรวจศึกษาเพื่อออกแบบบูรณะ และได้ดำเนินการบูรณะแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๓๙ การบูรณะได้ย้ายบ้านเรือนราษฎรที่ปลูกทับโบราณสถานออก ทำให้ปรากฏรากฐานของสิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดเพิ่มเติมขึ้นคือวิหาร เจดีย์ราย ๕ องค์ เเละเเนวกำเเพงแก้วปัจจุบันวัดขุนแสนได้รับการขุดแต่งบูรณะเสริมความมั่นคงและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้เป็นสถานที่พักผ่อนทำกิจกรรมของชุมชนได้
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดขุนแสนมีดังนี้
๑. เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่สร้างทับซ้อนกัน ๒ ซั้น ซึ่งคาดว่าองค์นอกคงบ้าง พอกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจดีย์องค์ในเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลาง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ชั้นนอกคือ ส่วนฐานจะเป็นลานประทักษิณสองชั้นก่อเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ลดหลั่นกันขึ้นไป ชั้นแรกมีความสูงจากพื้นประมาณ ๒.๕๐ เมตร ชั้นถัดไปมีความสูงประมาณ ๑.๘๐ เมดร ทั้ง ๒ ชั้นมีการปูอิฐทั่วลานประทักษิณ เหนือส่วนฐานขึ้นไปเป็นฐานเขียงทรงกลมสองชั้น สร้างลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นฐานบัวหงายแล้วจึงเป็นส่วนของมาลัยเถาสามชั้น และสิ้นสุดลงแค่นี้ แสดงว่าสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
เจดีย์องค์ในปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนยอดประกอบด้วยองค์ระฆัง บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม เสาหาน ทรงกลมและปล้องไฉน
๒. วิหาร เหลือแต่รากฐาน เป็นอาคารขนาดกว้าง ๑๖.๓๐ เมตร ยาว ๒๖.๒๐ เมตร ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับเจดีย์ประธาน ลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีบันไดทางขึ้นสองข้าง คือ ทางทิศเหนือและทิศใต้เหมือนกันทั้ง ๒มุข มีประตูทางเข้าวิหารสองข้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานชุกชีมีขนาดใหญ่และมีร่องรอยการต่อเติมสมัยหลัง ร่องรอยเสาวิหารเป็นเสาแปดเหลี่ยม เช่นเดียวกับเสาพาไลสองข้าง นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของผนังเดิมเเละผนังใหม่ให้เห็นบางเhห่ง วิหารหลังนี้มีชุดฐานปัทม์โดยรอบ
๓. เจดีย์ราย เจดีย์รายที่ได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้วมีจำนวน ๕ องค์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหาร ๔ องค์ ด้านทิศใต้ของวิหาร ๑ องค์ ส่วนใหญ่เหลือเพียงรากฐาน ยกเว้นเจดีย์องค์ทางทิศใต้ซึ่งยังเหลือส่วนกลางให้เห็นว่าเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีแต่ส่วนบนที่ปรักพังหายไป
๔. กำแพงแก้ว มีแนวกำแพงแก้วล้อมรอบวิหารและเจดีย์ฑื แนวบางส่วนขาดหายไปสันนิษฐานว่ากำแพงแก้วคงสร้างขึ้นในสมัยหลัง เนื่องจากพบหลักฐานการก่อกำแพงแก้วทับฐานเจดีย์ราย.
วิดีทัศน์
วัดขุนแสน
แผนที่ : การเดินทาง