วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราช เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นวัดที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘
จากพระราชพงศาวดารเหนือ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ ได้กล่าวถึงวัดนี้ว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยพระยาธรรมิกราช พระราชบุตรแห่งพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ในรัชกาลของพระองค์ได้ช้างเผือก ๒ เชือก เมื่อแรกสถาปนานั้นขนานนามว่า วัดมุขราช ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดธรรมิกราช แต่ไม่ปรากฏหลักฐานปีการก่อสร้าง
โบราณสถานของวัดธรรมิกราชที่เป็นหลักสำคัญมี ๔ แห่ง คือ
๑. เจดีย์ทรงระฆังมีสิงห์ล้อม
๒. วิหารหลวง
๓. อุโบสถ
๔. วิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดธรรมิกราชจะได้รับการขุดแต่งอย่างเป็นทางการเมื่อใดไม่ปรากฏจดหมายเหตุที่เเน่นอน แต่ที่แน่ชัดก็คือเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษามาโดยตลอด ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว จึงได้ปรากฏร่องรอยของการซ่อมแปลงแก้ไข และสร้างเสริมมากมายทั้งที่ตัวโบราณสถาน ทั้ง ๔ แห่งดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนได้สร้างกุฏิ และเสนาสนะอื่นๆ อีกหลายแห่งภายในวัด
เมื่อราวต้นปีงบประมาณ ๒๕๓๐ รัฐบาลโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบเร่งรัดฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี ๒๕๓๐ให้พัฒนาโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากร จำนวน ๔ แห่ง ๑ ใน ๔ แห่งนี้คือการปรับปรุงและพัฒนาวัดธรรมิกราชของโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อเอื้ออำนวยและสามารถให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้โดยสะดวก ในวงเงิน ๙๖๕,๑๔๐.- บาท โดยตามเป้าหมายของโครงการคือการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ทรงระฆังมีสิงห์ล้อมที่ฐาน และบูรณะพระพุทธไสยาสน์ โดยเหตุผลที่โบราณสถานทั้ง ๒ แห่ง มีความสำคัญและชำรุดทรุดโทรมมากจนน่าวิดก และเกรงว่าหลักฐานต่างๆ ที่ยังปรากฏอยู่จะสูญเลื่อมสลายไปตามกาลเวลา
ภายหลังจากการดำเนินการขุดแต่งเจดีย์องค์ประธานที่กล่าวมาข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว หลักฐานที่ได้จากการขุดแต่งภมารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเหดุการณ์ทางประวัติศาสตร์เพื่อสอบยืนยันถึงอายุของวัดนี้ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของวัดธรรมิกราช คือเศียรพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ซึ่งนำไปเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาดิ เจ้าสามพระยา พุทธลักษณะของปฏิมากรรมสำริดองค์นี้เป็นศิลปะแบบอู่ทอง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ คล้ายคลึงกับพระพุทธไตรรัดนนายก วัดพนัญเชิง ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ว่า สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง๒๖ ปีหลักฐานชั้นนี้ได้ยืนยันถึงอายุพระพุทธรูปองค์นั้นว่าควรสร้างขึ้นก่อนกรุงศรีอยุธยา ในอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับวัดพนัญเชิง โบราณวัตถุอื่นๆอาทิเช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะแบบลพบุรี แม้จะพบหลายองค์ในวัดนี้ ก็ไม่อาจใช้กำหนดอายุได้เพราะมีเหตุผลของการเคลื่อนย้ายมาจากที่แห่งอื่นๆได้ เช่นเดียวกัน
จากการขุดแต่งเจดีย์สิงห์ล้อมองค์นี้ พบว่าเจดีย์องค์ที่เห็นสภาพอยู่ในปัจจุบันได้สร้างครอบทับเจดีย์ทรงระฆังแบบเก่าไว้ภายใน ลักษณะของเจดีย์องค์ในดังกล่าวเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบฐานเตี้ย องค์ระฆังไม่ผ่านเป็นแบบโอคว่ำและไม่มีเสาหาน เมื่อนำเอาลักษณะของเจดีย์องค์ในไปเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันเเล้ว ส่วนใหญ่มีหลักฐานที่อ้างถึงว่ามีอายุเก่าขึ้นไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นเจดีย์ที่วัด มเหยงคณ์ เจดีย์วัดพลับพลาไชย เป็นต้นแม้จะยังไม่สามารถยืนยันให้เก่าขึ้นไปถึงสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาได้ก็ตาม
“ศักราช ๙๐๖ ปีมะโรง ฉศก (พ.ศ. ๒๐๘๗) ฝ่ายพระศรีศิลป์ผู้น้องพระยอดฟ้า พระองค์เอามาเลี้ยงไว้จนอายุได้สิบสามสิบสี่ปี จึงให้ออกบวชเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดราชประดิษฐาน พระศรีศิลป์มิได้อยู่ในกตัญญู ซ่องสุมพวกพลคิดการกบฏ ครั้นทราบจึงดำรัสสั่งเจ้าพระยามหาเสนาให้จับเอาตัวพระศรีศิลป์มาพิจารณา ได้ความเป็นสัตย์หาให้ประหารชีวิตเสียไม่ ให้แต่คุณเอาตัวไว้ ณ วัดธรรมิกราชาหมื่นจ่ายวดเป็นผู้คุม.. ”
จากเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมที่นิยมสร้างในช่วงระยะเวลาเดียวกันจึงอาจกล่าวได้โดยยุติในชั้นนี้ก่อนได้ว่า เจดย์องค์ที่สร้างคร่อมทับนั้นคงสร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๑
หลักฐานที่ได้จากการขุดแด่ง พบว่า ฐานทักษิณสี่เหลี่ยม ขนาด ๒๕ x ๒๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยสิงห์ล้อม จำนวน ๕๒ ตัวนี้ สร้างพอกทับประกบเข้าไปกับฐานเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมองค์ในที่หนึ่ง มิได้สร้างขนมาในสมัยดียวกัน ปัญหาที่ตามมาก็คือ ฐานทักษิณที่ประกอบด้วยบันไดนาคและสิงห์ทั้ง ๕๒ ตัวนี้ สร้างขึ้นเมื่อใด
ย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่ในหมู่ของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดสถาปัตยกรรมของกัมพูชาโบราณ (ขอม) เป็นอย่างมาก ลักษณะและนามของสภาลักษณะและนามของสถาปัตยกรรมด่างๆ ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสถาปนาขึ้น ซึ่งมักเกี่ยวเนื่องไปทางกัมพูชาประเทศเป็นอย่างมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า การสร้างฐานทักษิณที่บันไดนาคและสิงห์ล้อมทั้งสี่ด้าน ซึ่งเป็นแบบอย่างที่นิยมทำกันมากในศิลปะขอมได้ถูกนำมาสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนี้
ภายหลังจากการต่อเติมลานประทักษิณ ประกอบด้วยสิงห์และบันไดนาคโดยรอบแล้ว มหาเจดีย์สถานแห่งนี้คงจะชำรุดทรุดโทรมลงอีก เพราะได้ปรากฏร่องรอยของการพอกปูนทับทั้งบนเจดีย์สิงห์และที่บันไดนาคทั้งสี่ด้าน สิงห์บางตัวอาจชำรุดเสียหายจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ จึงจำเป็นต้องทิ้งฉากของสิงห์ดัวเดิม โดยปั้นดัวใหม่ขึ้นมาแทน หรือบางตัวก็ปั้นปูนพอกทับปูนเก่าและใส่ลวดลายใหม่ทับบนลายเก่าลงไป ซึ่งลักษณะของการซ่อมปฏิสังขรณ์มหาเจดีย์ครั้งนี้คงเป็นครั้งสุดท้ายของแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ซื่งอาจจะกระทำขึ้นในราวแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งทิ้งช่วงระยะเวลาห่างจากการบูรณะครั้งสุดท้ายประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ
ในช่วงท้ายของแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เหดุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้บันทึกถึงตำแหน่งพระราชาคณะรูปหนึ่งที่วัดธรรมิกราชนี้ คือ พระธรรมโคดม ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งในจำนวนทั้งสิ้น ๕ รูป ที่กรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) อาราธนาให้เข้าไปว่ากล่าวเล้าโลมเจ้าสามกรมให้สมัครสมานสามัคคีด้วยกันตามพระราซโอวาทที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศตรัสสั่งไว้ก่อนจะเสด็จสวรรคต
ศาสนสถานที่มีอายุยืนยาวและใช้งานมาโดยตลอดแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ๓๐๐ - ๔๐๐ ปี ไม่อาจคงสภาพอยู่ได้อย่างปกติฉันใด เจดีย์องค์นี้ก็เป็นฉันนั้น ความชำรุดทรุดโทรมได้เข้ามาเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า ดังจะเห็นได้จากร่องรอยของการซ่อมปฏิสังขรณ์ถึงหลายครั้งหลายครา พระมหากษัดริย์ผู้ทรงอำนาจและเป็นองค์ศาสนูปถัมภก จะทรงทำนุบำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรืองก็ด้วยการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์สถูป เจดีย์และเสนาสนะต่างๆ ในพระศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไปดังจะเห็นได้จากการวินิจฉัยลักษะทางสถาปัตยกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เพียงแต่ยังไม่มีเครื่องกำหนดให้เด่นชัดลงไปได้ว่า ศาสนสถานต่างๆเหล่านี้ ได้ถูกบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดจริงๆ เท่านั้น ข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาแล้วข้างต้นจึงเป็นเพียงการคาดการณ์ที่ยืนอยู่บนหลักฐานทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุเเละเอกสารที่ค้นพบเท่านั้น
ผลจากสงครามเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกไฟเผาผลาญวอดวายเป็นเถ้าถ่าน ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม อาคารบ้านช่องต้องพินาศเสียหายยับเยินไป เพราะฝีมือข้าศึกและประชาชนที่ถูกบีบคั้นจากภาวะของสงคราม วัดธรรมิกราชก็มิได้พ้นจากภัยสงครามครั้งนี้ด้วย อาจเป็นเพราะอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง หรือเพราะเป็นวัดที่โอ่อ่าใหญ่โตมโหฬารก็ตาม วัดนี้แหลกลาญลงในพริบตาเดียวเช่นกัน
กรุงศรีอยุธยาถูกทอดทิ้งให้เป็นเมืองร้างมาเป็นระยะเวลายาวนาน สภาพราชธานีอันรุ่งเรืองกลายเป็นป่าดงพงเสือ เป็นแหล่งของนักขุดหาของเก่า ดังที่บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ สังฆราชประจำประเทศไทยในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้บรรยายไว้ในบันทึกของท่านว่า “ที่อยุธยายังมีการขุดหาทองสมบัติอยู่เนืองๆ”
วัดธรรมิกราชไม่ปรากฏหลักฐานการปฏิสังขรณ์เลย ตั้งแต่อธุธยามีสภาพเป็นเมืองร้าง จากคำให้การของขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอุทุมพรราชาทรงสละราชสมบัติให้แก่ เจ้าฟ้าเอกทัศผู้เป็นพระเชษฐาธิราชแล้ว ก็ทรงผนวชอยู่ที่วัดธรรมิกราชนี้ โดยมีมหาดเล็กหุ้มแพรคู่พระทัย ชื่อ “นายหงส์” ติดตามออกบวชด้วย ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศนั้นต้องทำศึกสงครามกับพม่าอยู่เนืองๆ ก่อนเสียกรุงเพียงเล็กน้อย “นายหงส์” ได้ลอบหนีไปกับพระยาตากเพื่อเตรียมการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาในดำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยาว่าด้วย ตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่งครั้งกรุงธนบุรีซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีรวบรวมผู้มีชื่อต่างๆ ที่คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมในพระราชวังมาร่วมกันชำระ ในจำนวนผู้ มีชื่อเหล่านั้นมีชื่อ “นายหงส์ เสมียนนครบาล” ร่วมอยู่ด้วย ต่อมานายหงส์ผู้นี้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเพชรพิชัย (หงส์)” และมีบุตรชายได้ตำแหน่งเป็นพระยาเพชรพิชัย (เกตุ) เป็นต้นสกุล “หงสกุล” พระยาเพชรพิชัย (เกตุ) มีบุตรชายได้ตำแหน่งเป็นพระยาเพชรพิชัย (หนู) เป็นต้นสกุล “เกดุทัต” ในราวสมัยรัชกาลที่ ๕เพราะเหตุที่ตระกูลนี้มีความสัมพันธ์กับวัดธรรมิกราชนี้อยู่บ้าง “คุณหญิงแจ่ม” ภริยาของพระยาเพชรพิชัย (หนู) ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ซากปรักหักพังของวัดธรรมิกราช โดยก่อเป็นแบบก่ออิฐถือปูนเพื่อให้มีความมั่นคงถาวรสืบไป ไม่ว่าจะเป็นกุ็ฏิสงฆ์หรือเสนาสนะต่างๆ ดังนั้น วัดธรรมิกราชจึงเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่สืบมาจนทุกวันนี้
พระครูพิทักษ์พรหมธรรม เจ้าอาวาสวัดธรรมิกราช (พ.ศ.๒๕๓๔) กล่าวว่าในช่วงระยะที่คุณหญิงแจ่มมาปฏิสังขรณ์วัดธรรมิกราชนั้นคงอยู่ในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในขณะนั้นมีพระครูธรรมิกจารคุณ (ฟัก) เป็นเจ้าอาวาส เล่ากันว่า พระครูธรรมิกจารคุณรู้นี้เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเปนอย่างยิ่งถึงขนาดเสด็จมาเยือนทุกครั้งที่เสด็จอยุธยา แม้เมื่อครั้งจะเสด็จประพาสยุโรป ก็ยังเสด็จมาลาถึงวัด
ภายหลังจากการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นแล้ว ก็มิได้มีผู้ใดมาบูรณะปฏิสังขรณ์อีก วัดธรรมิกราชที่เคยเป็นวัดหลังอันโอ่อ่าสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เปลี่ยนสภาพมาเป็นวัดราษฎร์ที่ขาดการดูแลเอาใจใส สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่คุณหญิงแจ่มได้บูรณะไว้นั้น ชำรุดทรุดโทรมลงเรื่อยๆ เจ้าอาวาสองค์ด่อๆ มาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นเสียใหม่ โดยใช้ไม้ปลูกสร้างแทนของเดิม และในปลายปี พ.ศ.๒๔๙๐ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มาบูรณะวังโบราณและบริเวณเกาะเมืองอยุธยา ได้มีโครงการที่จะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้ด้วย พอสร้างรั้วและกำแพงวัดเสร็จ ก็เกิดขึ้นความผันผวนทางการเมืองจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดธรรมิกราชด้องหยุดชะงักลงมาเป็นระยะเวลานานจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้วัดธรรมิกราชอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมานับแต่นั้นมา แม้กระทั่งองค์เจดีย์ประธานของวัดก็หักพังทลายลงใน พ.ศ.๒๕๒๐
วิดีทัศน์
แผนที่ : การเดินทาง