แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างค่อนข้างรี ตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ความยาวตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 650 เมตร ความกว้างตามแนวแกนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 360 เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำและคันดิน 1 ชั้น ปัจจุบันคงเหลือสภาพเฉพาะหนองปู่ตา หรือ หนองพุดตา ซึ่งเป็นแนวคูด้านทิศใต้ กับ บึงหนองเตย หรือ บึงเมืองเตย หนองน้ำด้านทิศตะวันออกที่ถูกขุดลอกขึ้นมาใหม่ เมื่อ พ.ศ. 25401
บริเวณแหล่งโบราณคดีดงเมืองเตยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ดังนี้
1.โบราณสถานดงเมืองเตย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแหล่ง ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารก่ออิฐ
2. ศิลาจารึก
3. หินทรายสลัก
4. ใบเสมา ทำจากหินทรายและศิลาแลง พบบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย
5. ชิ้นส่วนศิลาทรายสีแดง จำนวน 9 ชิ้น ซึ่งน่าจะเป็นส่วนประกอบอาคารโบราณสถานดงเมืองเตย
6. กุฑุสลักรูปบุคคลเยี่ยมหน้าต่าง จำนวน 2 ชิ้น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายศิลปะทวารวดีที่พบทั่วไปในภาคกลาง
7. ภาชนะดินเผา รูปทรงคล้ายไห สีเทา และมีลายขูดขีดเป็นเส้นขนานรอบไห
กุฑุโบราณสถานดงเมืองเตย
ลานทางเดินด้านหน้าโบราณสถานดงเมืองเตย
แผนที่โบราณสถานดงเมืองเตย