กำแพงเมือง/ประตูเมือง(City Wall and Gates)
กำแพงเมือง ทำเป็นแนวคันดินสูง แผนผังรูปสี่เหลี่ยม มีประตูก่อเป็นซุ้มด้วยศิลาแลงและหินทราย ด้านละ ๑ ประตู ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๓ ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ มีชื่อว่า “ประตูผี” ด้านทิศใต้ มีชื่อว่า “ประตูชัย” ด้านทิศตะวันตก มีชื่อว่า “ประตูหิน” จากการขุดแต่งประตูเมืองด้านทิศใต้ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๖ ใน พ.ศ.๒๕๓๐ พบโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทำจากหินทรายและประติมากรรมรูปนางปรัชญาปารมิตา ทำจากสำริด ประติมากรรมทั้งสองชิ้นนี้ปรากฏลักษณะของศิลปกรรมเขมรแบบบายน และเมื่อประกอบกับลักษณะการก่อสร้างซุ้มประตูที่ก่อด้วยศิลาแลงแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า ซุ้มประตูเมืองนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นอกจากนี้ แนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ยังพบร่องรอยแนวถนนโบราณ เดิมคงเป็นเส้นทางสำคัญซึ่งอาณาจักรเขมรใช้เป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อประโยชน์ทางการค้าและเผยแพร่วัฒนธรรมสู่ดินแดนแถบนี้
The city wall and gates were built in the 13th century A.D. The city wall was in the form of rectangular ramparts. Arched gateways made of laterite and sandstone on its four sides, but today only three evident, on northern, southern and western. The southern gate, known as Pratu Chai or Victory Gate is the best example of arched gateways facing Angkor. An ancient road can still be traced coming out from this gate. At that time the road probably served as a major route from Angkor to Phimai.