บริเวณที่พบศิลาจารึกปากลำโดมน้อยเป็นเนินขนาดเล็กก่อด้วยก้อนหินและแผ่นหินทรายธรรมชาติปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะและอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งเขื่อนปากมูลขึ้นมาทางเหนือ ปีที่พบจารึก คือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยเจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร

          ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เป็นหินสีเทาแถบชมพูมีจารึกด้านเดียวจำนวน 6 บรรทัดใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต มีรายละเอียดอื่น ๆ ดังนี้

 ชื่อจารึก                  : จารึกปากโดมน้อย(English Version)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ      : ศิลาจารึกปากโดมน้อย

อักษรที่มีในจารึก      : ปัลลวะ

ศักราช                    : พุทธศตวรรษ12

 ภาษา                     : สันสกฤต

 ด้าน/บรรทัด            : จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

 วัตถุจารึก                : หินทราย

ลักษณะวัตถุ               :รูปเสมา

ขนาดวัตถุ                 : กว้าง 38.80 ซม. สูง 147 ซม. หนา 37.7 ซม.

 บัญชี/ทะเบียนวัตถุ    : 1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น อบ. 28

                                 2) ในหนังสือ โบราณคดีเขื่อนปากมูล กำหนดเป็น ศิลาจารึกปากโดมน้อย  

ปีที่พบจารึก              : วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

สถานที่พบ                : ริมฝั่งแม่น้ำมูล ปากลำโดมน้อย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้พบ                        : เจ้าหน้าที่โบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร

 ปัจจุบันอยู่ที่            : ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่           : โบราณคดีเขื่อนปากมูล (กรุงเทพฯ  กรมศิลปากร และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2535), 62-69.

 

ประวัติ  ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน 7 หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย

  1. จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. 15) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
  2. จารึกปากน้ำมูล 1 (อบ. 1) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
  3. จารึกปากน้ำมูล 2 (อบ. 2) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
  4. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. 4) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  5. จารึกปากโดมน้อย (อบ. 28) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
  6. จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. 9) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
  7. จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค) (จารึกหลักนี้ สาบสูญไปแล้ว)